อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ โดยตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่ อุทยานฯ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ในนามนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ขอบเขตของอุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีขอบเขตพื้นที่ตามประกาศกรมศิลปากรเรื่องกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน รวมพื้นที่ทั้งสิ้นราว 3,000 ไร่ โดยได้มีการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 รวมพื้นที่ประมาณ 1,810 ไร่ [2] โดยในเขตที่ดินโบราณสถานดังกล่าวมีโบราณสถานที่สำคัญ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมกับการที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก[4] ซึ่งในเขตที่ดินเพิ่มเติมนี้ มีโบราณสถานที่สำคัญ อาทิ

พระราชวังจันทรเกษม
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
วัดโลกยสุธาราม
วัดธรรมิกราช
วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร
วัดสวนหลวงสบสวรรค์
กำแพงและป้อมปราการกรุงเก่า
วัดไชยวัฒนาราม
วัดพุทไธศวรรย์
วัดหน้าพระเมรุ
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดพนัญเชิง
วัดกุฎีดาว
วัดดุสิดาราม
วัดภูเขาทอง
วัดพระยาแมน
หมู่บ้านโปรตุเกส
หมู่บ้านฮอลันดา
หมู่บ้านญี่ปุ่น
เพนียดคล้องช้าง
โบสถ์นักบุญยอแซฟ เป็นต้น
ทั้งนี้ เขตที่ดินโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คือเขตที่ดินในส่วนก่อนมีประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2540 เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเสนอขอขยายเขตที่ดินตามประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณเพิ่มเติมให้เป็นมรดกโลก
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้

- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
อ้างอิง
ศิลปากร, กรม. หน้า 32.
"ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (102): 2149. 2015-08-07.
รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) หน้า 247 - E-Book Buffet : ห้องสมุดประชาชน อ.ท่าบ่อ | พลิก PDF ออนไลน์ | PubHTML5
"ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเพิ่มเติม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (6ง): 40. 2015-08-07.
Cr. https://th.wikipedia.org/


10 คอมเม้นต์

ความเห็นที่ 1

อยุธยา

ความเห็นที่ 2

ใช่ที่เดียวกับที่ลิซ่าไปมั้ยยย

ความเห็นที่ 3

มรดกโลก

ความเห็นที่ 4

อยากไปเที่ยวอยุธยา

ความเห็นที่ 5

ตามรอยประวัติศาสตร์ ไหว้พระที่อยุธยา ถ้ามีโอกาส

ความเห็นที่ 6

เป้นมรดกโลกด้วย อยากไปดูบ้าง

ความเห็นที่ 7

ยายน่าจะชอบไปไหว้พระ

ความเห็นที่ 8

เห็นแล้วคิดถึงละครช่อง7เลย

ความเห็นที่ 9

เคยเห็นเพื่อนไปใส่ชุดไทยถ่ายรูปลงig

ความเห็นที่ 10

ตอนเด็กๆที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ครูน่าจะพาไปแบบนี้บ้าง

แสดงความคิดเห็น

Copyright 2019 © Tour Planet. All rights reserved.
Powered by Need Soft